การเปิดธุรกิจใหม่คงเป็นความฝันของใครหลายคน และเกินกว่า 60% เริ่มต้นธุรกิจโดยไม่ทราบข้อผิดพลาดหรือข้อควรระวังจนอาจก่อให้เกิดความล้มเหลวในธุรกิจที่ใฝ่ฝันไว้
ดังนั้นการรู้ข้อควรระวังก่อนการเปิดธุรกิจนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้เราเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ฝ่าอุปสรรคและประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้กันครับ
- ไม่ศึกษาข้อมูลของธุรกิจอย่างจริงจัง
หลายครั้งการเริ่มธุรกิจเริ่มต้นจากกระแสเป็นส่วนใหญ่จึงทำให้ขาดการศึกษารูปแบบธุรกิจ กลุ่มเป้าหมาย และตำแหน่งของแบรนด์อย่างแท้จริง โดยได้รับความไขว้เขวจากกระแสนิยมที่อาจอยู่ชั่วครู่ได้
ดังนั้นการเริ่มต้นที่ดีจึงควรศึกษานับตั้งแต่โมเดลธุรกิจ (Business Model) เพื่อเป็นแบบจำลองธุรกิจอย่างชัดเจนซึ่งช่วยให้เราเข้าใจธุรกิจนั้น ๆ มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น
- คุณค่าสินค้าและบริการ
- กลุ่มลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ
- คู่แข่งทางธุรกิจ
- ช่องทางและรายได้ที่ธุรกิจจะสามารถสร้างได้
- กลยุทธ์การสร้างกำไรให้กับธุรกิจ เป็นต้น
- ขายสิ่งที่ตัวเองต้องการมากกว่าลูกค้าต้องการ
ก่อนจะเริ่มต้นธุรกิจ เราควรประเมินจากความต้องการของลูกค้าโดยการศึกษาหรือหาปัญหาของลูกค้า (Pain Point) ของลูกค้าให้เจอเสียก่อน และประเมินควบคู่กับสินค้าของเราว่ามีสินค้าหรือบริการใดบ้างที่สามารถตอบโจทย์และช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างครบวงจร หรือเกิดการซื้อซ้ำได้นั่นเอง
ดังนั้นสิ่งสำคัญในฐานะว่าที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจจึงควรที่จะมองหาความต้องการของลูกค้าให้ได้อย่างแท้จริง
ในกรณีการเปิดธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ สามารถศึกษาความต้องการของลูกค้าได้จากเครื่องมือออนไลน์ได้หลายอย่าง เช่น Google Trend ค้นหาคำที่เกิดการค้นหาในรอบปีหรือช่วงเวลาต่าง ๆ
Facebook Ads ประเดิมตลาดจากการทดสอบโฆษณาก็เป็นอีกทางลัดที่จะช่วยให้ทราบได้ว่ามีลูกค้าต้องการสินค้าของเราจริงหรือไม่ได้ในระดับหนึ่ง ในทางกลับกันก็สามารถเข้าหาลูกค้าหรือสอบถามจากคนใกล้ตัวในกลุ่มสังคมที่แตกต่างกันไป เพื่อหาสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมมากกว่าการคิดเองทั้งหมด
- บริหารเงินสดไม่ได้
เรื่องการบริหารเงิดสดไม่ได้สอดคล้องกับการจัดสต็อกอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างร้านขายเสื้อผ้ามีเงินทุนทั้งหมด 1 แสนบาท นำเงินส่วนนี้ไปซื้อเสื้อผ้าประมาณ 80,000 บาท เพื่อนำมาสต็อกไว้ป้องกันของขาดสต็อกจนทำให้ลูกค้ารอนาน
กรณีที่ลูกค้าเข้าอย่างต่อเนื่องส่วนนี้จะไม่เป็นปัญหาอะไรเลย เพราะมีการหมุนเงินอย่างคุ้มค่า แต่ในทางกลับกัน หากเจ้าของธุรกิจไม่ได้เข้าใจพฤติกรรมลูกค้าและไม่ทราบถึงยอดขายย้อนหลังว่ามีลูกค้ามากหรือน้อย หรือปริมาณการสั่งซื้อมากน้อยเพียงใด ธุรกิจนั้น ๆ จะเข้าสู่วงจร “เงินจมทุน” นั่นเองครับ
ดังนั้นทางแก้ไขควรจะเป็นคือเจ้าของธุรกิจควรทราบถึงยอดขายย้อนหลัง พฤติกรรมลูกค้าต่อวัน และการสั่งซื้อสต็อกสินค้าอย่างสมดุล และรู้จักสำคัญต้องรู้จักตั้งสถานการณ์ (Scenario) ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น
- Best Case Scenario สถานการณ์ที่ดีที่สุด: เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ อย่าได้นิ่งนอนใจไป สิ่งที่ควรทำคือจะหมุนเงินอย่างไร และต่อยอดธุรกิจในแนวทางไหนบ้าง
- Worst Case Scenario สถานการณ์ที่แย่ที่สุด: เร่งหาแผนการสำรองและประเมินสถานการณ์อย่างละเอียดรอบคอบ พยายามหาเงินทุนที่หลากหลายเผื่อสถานการณ์ย่ำแย่ลงกว่าเดิม
- Average Case Scenario สถานการณ์ปกติ: สถานการณ์อาจกล่าวได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่ควรจะเป็น เพราะนับเป็นสถานการณ์ที่เป็นไปตามแผนการที่วางไว้
- คำนวณต้นทุนไม่รอบคอบ
การคำนวณต้นทุนจะไปสัมพันธ์กับการบริหารเงินสด เนื่องจากหลายร้านมักคำนวณเฉพาะต้นทุนคงที่ (Fix cost) และต้นทุนผันแปร (Variable cost) โดยหลงลืมต้นทุนแฝงไปอย่างสิ้นเชิง ส่วนนี้เองที่ก่อให้เกิดปัญหาการเปิดธุรกิจ
เจ้าของธุรกิจจึงควรเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนต้นทุนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทางซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ รวมถึงต้นทุนที่อาจสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจอย่างคาดไม่ถึง เช่น ค่า Food waste ในธุรกิจร้านอาหาร หรือค่าขนส่งสินค้าในธุรกิจค้าปลีก เป็นต้น
- ไม่วางระบบจัดการธุรกิจ
หลายร้านมักมองว่าเปิดธุรกิจไปสักระยะถึงเริ่มต้นวางระบบจัดการธุรกิจก็ได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วการวางระบบธุรกิจเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการรันธุรกิจต่อไป ไม่ว่าจะเรื่อง
- คำนวณต้นทุน การติดตามสินค้าคงคลัง และแจ้งเตือนเมื่อสินค้าเหลือน้อย
- เปิดบิลการขายและตรวจสอบได้แบบ Real-time
- การรับชำระเงินและการพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน
- สรุปยอดขายรายวัน รายเดือน รายปีสู่การต่อยอดกลยุทธ์ทางการตลาด
- การจัดการเข้าถึงของพนักงาน ตรวจสอบการทำงาน และคำนวณชั่วโมงการทำงานของพนักงาน
- โปรแกรมสะสมแต้ม โดยจัดเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างเป็นระบบ
เหล่านี้ล้วนแต่เรื่องสำคัญสำหรับการเปิดธุรกิจ เพื่อให้ก้าวข้ามผ่านอุปสรรคของการเปิดธุรกิจในช่วงแรกไปให้ได้นะครับ
สำหรับใครที่กำลังมองหาระบบจัดการธุรกิจ EasyDee POS สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามได้ครับ
ติดตามบทความเพิ่มเติม