Skip to content

6 ผังรับทรัพย์! ต้อนรับวันตรุษจีน (ฉบับร้านค้าปลีก)

    การจัดผังร้านค้าปลีกอาจดูเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป แต่จริง ๆ แล้วการจัดร้านค้าแฝงไว้ซึ่งเรื่องฮวงจุ้ยและจิตวิทยาที่ล้วนแล้วแต่มาจากพฤติกรรมของลูกค้าทั้งสิ้น 

    หากลองสังเกต กว่า 80-90% มักเลี้ยวขวาเข้าร้านค้าปลีกหรือร้านขายของชำก่อนเสมอ ร้านโดยส่วนใหญ่จึงมักให้ช่องการวางสินค้าอยู่ขวามือ และมีเคาน์เตอร์คิดเงินอยู่ทางซ้ายมือนั่นเอง หากเป็นแบบนั้นจริงวันนี้เรามาดูรูปแบบการจัดผังรับทรัพย์ ต้อนรับวันตรุษจีนกันครับ 

    6 ผังรับทรัพย์! ต้อนรับวันตรุษจีน (ฉบับร้านค้าปลีก)

    1. แผนผังรูปกริด (Grid)

    โดยส่วนใหญ่ร้านขายของชำนิยมการจัดแผนผังรูปกริด เพราะเป็นการจัดวางที่ง่ายต่อการหาของในหมวดหมู่เดียวกัน ทำให้ลูกค้ามองเห็นโซนสินค้าอย่างชัดเจน และทำให้ลูกค้าเดินจากโซนหน้าไปยังโซนหลังสุดและวกกลับเข้าอีกโซนได้อย่างสะดวกสบาย 

    แม้ว่ารูปแบบผังแบบกริดจะเห็นอย่างแพร่หลายและไม่ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับลูกค้าแล้ว แต่รูปแบบกริดกลับเป็นรูปแบบผังที่ได้รับความนิยมและรับทรัพย์ได้ดีที่สุดเลยล่ะ!

    รูปแบบร้านที่เหมาะ: ร้านขายของชำ, ร้านสะดวกซื้อ, ร้านขายหนังสือ, ร้านขายของเล่น, ร้านขายของใช้ในบ้าน

    1. แผนผังแบบวน (Loop)

    การจัดผังแบบวนเป็นการจัดผังที่กำหนดเส้นทางการเดินจากทางนึงไปอีกทางนึงเท่านั้น ไม่สามารถเดินทะลุโซนได้แบบรูปกริด 

    ข้อดีที่เห็นอย่างชัดเจนคือ ลูกค้าจะได้สำรวจและเห็นสินค้าทุกรูปแบบภายในร้าน แต่ในทางกลับกัน ถ้าลูกค้าไม่อยากเดินจนครบ สินค้าที่อยู่ส่วนกลางหรือปลายทางอีกฝั่งก็หมดโอกาสไปได้เลย 

    รูปแบบร้านที่เหมาะ: ร้านเครื่องครัว, ร้านค้าปลีกเฉพาะทาง, ร้านเสื้อผ้า, ร้านเครื่องประดับ

    1. แผนผังแบบฟรีโฟลว์ (Free-Flow)

    แผนผังแบบฟรีโฟลว์ หรือรูปแบบอิสระจะแตกต่างจากแบบวนอย่างชัดเจน เพราะเป็นรูปแบบที่ให้อิสระกับลูกค้าในการเลือกเดินดูสินค้าได้เอง โดยส่วนใหญ่มักใช้กับร้านที่ต้องการเน้นความสวยงามสินค้าน้อย 

    แต่ข้อเสียคือ ลูกค้าอาจหาสินค้าที่ต้องการไม่เจอและหากไม่มีพนักงานดูแลส่วนนั้นอยู่ก็อาจเสียโอกาสในการขายได้เช่นกัน 

    รูปแบบร้านที่เหมาะ: ร้านเครื่องประดับระดับไฮเอนด์, แบรนด์เฉพาะทาง 

    1. แผนผังแบบทแยง (Diagonal)

    การจัดผังแบบทแยงจะช่วยให้การดูแลสินค้าภายในร้านค้าง่ายขึ้น เพราะการจัดแบบทแยงช่วยให้พนักงานในร้านหรือเจ้าของธุรกิจมองเห็นทุกโซนสินค้าที่จัด การเข้าถึงหรือค้นหาสินค้าของลูกค้าก็ง่ายขึ้นเช่นกัน 

    รูปแบบร้านที่เหมาะ: ร้านอิเล็กทรอนิกส์, ร้านค้าปลีกความสวยงาม, ร้านค้าเครื่องสำอาง

    1. แผนผังแบบบังคับเส้นทาง (Forced-Path)

    แผนผังแบบบังคับเส้นทางจะมีความซับซ้อนมากกว่าแผนผังแบบวน เพราะการจัดแบบบังคับเส้นทางลูกค้าจะได้รับประสบการณ์และคำแนะนำที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และสัมผัสกับทุกสินค้าภายในร้านอย่างแท้จริง เพราะลูกค้าต้องเดินตามเส้นทางที่กำหนดก่อนจะสิ้นสุดทางเดินด้วยเคาน์เตอร์ชำระเงิน 

    ตัวอย่างที่ชัดเจนที่เห็นในบ้านเราคือ IKEA นั่นเอง

    รูปแบบร้านที่เหมาะ: ร้านเฟอร์นิเจอร์, ของแต่งบ้าน, โชว์รูม

    1. แผนผังแบบเชิงมุม (Angular) 

    รูปแบบการจัดร้านแบบเชิงมุมมักเน้นการสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ดีให้กับลูกค้า โดยการจัดวางร้านแบบสูงต่ำทแยงข้างให้ดูมีความน่าสนใจตามผลิตภัณฑ์สินค้า กระตุ้นความอยากได้สินค้ามากยิ่งขึ้น แต่ข้อเสียคือการจัดในรูปแบบนี้ ร้านค้าต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่เพียงพอต่อการวางสินค้าเสียก่อน 

    รูปแบบร้านที่เหมาะ: ร้านเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับระดับไฮเอนด์​, สินค้าที่มีคอลเลกชันเฉพาะตัว 

    แล้วคุณล่ะอยากจัดร้านเรียกทรัพย์ต้อนรับวันตรุษจีนกันแบบไหน ลองนำไปปรับใช้กันได้ครับ

    ที่สำคัญ! หากคุณกำลังขาดเครื่องรับและนับทรัพย์ อย่าลืมนึกถึงระบบจัดการธุรกิจ EasyDee POS นะครับ

    สำหรับธุรกิจใดต้องการปรึกษาในเชิงธุรกิจ EasyDee ยินดีให้คำปรึกษาเชิงธุรกิจ ฟรี!

    ติดตามบทความเพิ่มเติม 

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *