ยุคสมัยเปลี่ยนไปการทำธุรกิจยิ่งยากขึ้นโดยเฉพาะช่วงวิกฤตโควิด-19 แบบนี้ ช่องทางการขายจากเดิมที่มีทั้งหน้าร้านและเดลิเวอรีหรือขนส่งก็ดูจะลำบากมากขึ้น ด้วยคู่แข่งที่สูงขึ้นแต่กลับมีอัตราความต้องการต่ำลงจากพิษเศรษฐกิจ
“ช่องทางออนไลน์” เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สำคัญและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ในวงกว้าง แต่ทราบกันไหมครับว่า ช่องทางไหน และช่วงเวลาใดที่เหมาะสำหรับการโปรโมตธุรกิจคุณ
- ธุรกิจค้าปลีก (Retail)
การทำธุรกิจค้าปลีกหลาย ๆ เจ้ามาจากการบอกปากต่อปาก แต่จะดีกว่าไหม หากเราเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขายอีกช่องทางหนึ่ง เพราะทุกวันนี้การออกจากบ้านเพื่อเดินทางไปซื้อของอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการสัมผัสและติดเชื้อโควิด-19 ได้
การมีช่องทางออนไลน์ นอกจากจะช่วยลดอัตราการติดเชื้อ ยังช่วยสร้างความสะดวกสบายให้กับลูกค้าได้อีกด้วย
แพลตฟอร์มที่เหมาะสม: Facebook, Google My Business, LINE OA, LAZADA, Shopee
Facebook เป็นแพลตฟอร์มพื้นฐานที่ช่วยสร้างการรับรู้ (Brand Awareness) และสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจคุณได้ในระดับหนึ่ง และยังสามารถใช้สื่อโฆษณาในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดอีกด้วย
- Google My Business
คนไทยหลายคนยังไม่คุ้นชินกับแพลตฟอร์ม Google My Business เท่าไหร่นัก แต่จริง ๆ แล้ว Google My Business หรือ GMB คือ แพลตฟอร์มที่เจ้าของสามารถเข้าไปเพื่อเคลมความเป็นเจ้าของธุรกิจบน Google แถมยังแจ้งระบุสถานที่ (Location) บน Google Map ได้อีกด้วย ทั้งสะดวกและไม่มีค่าใช้จ่ายด้วยนะครับ
- LINE OA
LINE OA อาจเป็นแพลตฟอร์มรอง ๆ ลงมาสำหรับธุรกิจค้าปลีก แต่ก็เหมาะอย่างยิ่งกับการสื่อสารพูดคุยกับลูกค้า หรือแจ้งข่าวสารโปรโมชันให้กับลูกค้าได้ง่าย ๆ
- LAZADA หรือ Shopee
แพลตฟอร์ม E-commerce มาแรงแห่งยุคที่สามารถขายได้เกือบทุกอย่างเลยก็ว่าได้นะครับ สำหรับ LAZADA หรือ Shopee ทั้งยังมาพร้อมระบบขนส่งในตัว พร้อมด้วยแคมเปญต่าง ๆ มากมายที่สามารถกดเข้าร่วมได้
- ธุรกิจร้านอาหารและคาเฟ่ทั่วไป (Restaurant and Cafe)
ความไม่แน่นอนมีอยู่จริง จริง ๆ ครับ โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 แบบนี้ ดังนั้นการพิจารณาเลือกใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ก็เป็นเรื่องน่าสนใจและจำเป็นไม่น้อย
แพลตฟอร์มที่เหมาะสม: Facebook, Instagram, Google My Business, LINE OA, LAZADA, Shopee
- Facebook, Instagram, Twitter
สำหรับร้านอาหารหรือคาเฟ่ คงขาด 3 แพลตฟอร์มหลักนี้ไม่ได้เลยในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า เพราะทั้ง 3 แพลตฟอร์มสามารถลงภาพอาหารน่าทาน วิดีโอ หรือการรีวิวจากลูกค้า (User-Generated Content: UGC) ที่นิยมใช้กันในยุคนี้มาก ๆ
- Google My Business
พลาดไม่ได้จริง ๆ สำหรับร้านอาหารหรือคาเฟ่ที่มีหน้าร้าน ธุรกิจทั้งสองต่างควรเคลมความเป็นเจ้าของบน Goolge My Business เพื่อระบุสถานที่ และช่องทางการติดต่อจากลูกค้าที่พยายามค้นหารร้านผ่าน Google นั่นเอง
- LINE OA
เจ้าของธุรกิจร้านอาหารหรือคาเฟ่หลาย ๆ เจ้าเริ่มต้นการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง LINE OA ก่อนด้วยเหตุผลที่ว่า LINE OA เป็นเหมือนช่องทางของร้านเองโดยตรงที่สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ผ่านการกระจายข้อความ (Broadcast) ลูกค้าก็จะเห็นพร้อม ๆ
ทั้งนี้ LINE OA เองยังมีฟีเจอร์ลูกเล่นมากมายที่เหมาะสำหรับธุรกิจร้านอาหารและคาเฟ่ เช่น ฟีเจอร์สะสมแต้ม ฟีเจอร์คูปองส่วนลด หรือแม้แต่การเปิดช่องทางบน LINE Gift Shop ก็น่าสนใจอย่างยิ่ง
- LAZADA หรือ Shopee
หลายคนเข้าใจว่าต้องเฉพาะร้านอาหารที่จัดส่งได้เท่านั้นหรือเปล่าถึงจะเข้าร่วม E-commerce ทั้งสองได้ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่นะครับ รูปแบบ E-commerce นี้ยังมีให้เลือกด้วยว่าอยากเข้าร่วมรูปแบบธุรกิจแบบไหน เช่น ระบบจัดส่ง สินค้าของเราจะเข้าสู่การจัดส่งเหมือนกับธุรกิจค้าปลีกทั่ว ๆ ไปเลยครับ
แต่สำหรับธุรกิจร้านอาหารหรือคาเฟ่ที่ยังไม่สามารถผลิตออเดอร์ได้แบบข้ามวันได้ แนะนำให้เข้าร่วมแบบ E-Voucher ที่สามารถให้ลูกค้าซื้อเป็นคูปองในราคาพิเศษ และนำมาใช้กับหน้าร้านได้นั่นเองครับ
- ธุรกิจร้านอาหารแบบไม่มีหน้าร้าน (Delivery only)
จุดแข็งของธุรกิจร้านอาหารแบบไม่มีหน้าร้านคือ โฟกัสที่เดลิเวอรี ชัดเจน ลดต้นทุนค่าเช่าที่และค่าตกแต่งร้าน และกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด
แต่จุดอ่อนคือ การเสียอีกหนึ่งช่องทางการขายอย่างหน้าร้านไป เมื่อเป็นแบบนั้นจึงจำเป็นต้องมุ่งหาแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นหลัก
แพลตฟอร์มที่เหมาะสม: Facebook, Instagram, LINE OA, LAZADA, Shopee, TikTok, Youtube
ช่องทาง Facebook, Instagram, LINE OA เหมาะสำหรับธุรกิจประเภทนี้ไม่ต่างจากร้านอาหารทั่วไป แต่สิ่งที่อาจต้องเสริมเพิ่มเข้ามาคือ TikTok, Youtube และอาจต้องปรับ LAZADA, Shopee เหลือเพียงการจัดส่งเท่านั้น
- TikTok, Youtube
ทุกวันนี้ TikTok และ Youtube กลายเป็นช่องทางที่บรรดาร้านอาหารแบบไม่มีหน้าร้านชอบใช้ เพื่อให้เกิดเป็นกระแส (Viral) ด้วยกลุ่ม Influencers ต่าง ๆ หันมารู้จัก (Awareness) และเกิดการขายได้ (Conversion) ด้วยการพูดถึงซ้ำ ๆ นั่นเอง